ควรระวัง! โรคหน้าฝน ที่มักเกิดประจำและโรคที่พบบ่อยในเด็ก

2183-Cover

โรคหน้าฝน ที่ควรเฝ้าระวัง 4 โรคที่พบบ่อยในเด็ก และ 7 โรคที่มักเกิดในหน้าฝน พร้อมวิธีการป้องกันง่ายๆ ที่สามารถทำได้ทุกวัน

ในช่วง ฤดูฝน เป็นช่วงที่มีอากาศเย็นและมีความชื้นในอากาศเพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคได้หลายชนิดที่สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โดยกลุ่มโรคที่ต้องเฝ้าระวังในช่วงหน้าฝน เป็น 5 กลุ่มดังนี้

กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร

  • โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพ
  • เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอและบีติดต่อจากการรับประทานอาหารปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอและบี

กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง

  • โรคไข้ฉี่หนู หรือแลปโตสไปโรซิสผู้ป่วยมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรุนแรง ตาแดง

กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ

  • โรคหวัดไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม ปัจจุบันมีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ H1N1 และโรคไข้หวัดนกที่มีแหล่งแพร่ระบาดมาจากสัตว์ปีก เชื้ออาจมีการผสมข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ในช่วงระบาดในฤดูฝนได้

กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง

  • ไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ในระยะแรกจะมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่วไป เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว
  • ไข้สมองอักเสบเจอี(Japanese Encephalitis) มียุงรำคาญเป็นพาหะนำโรค มักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนา
  • โรคมาลาเรียมียุงก้นปล่องที่อยู่ในป่าเป็นพาหะนำโรค ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ซีดลง เนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก หากเป็นชนิดรุนแรงอาจมีอาการไตวาย ตับอักเสบ ปอดผิดปกติ

กลุ่มโรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง

  • เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา

โรคในหน้าฝน ที่ต้องเฝ้าระวังในเด็ก

  • ไข้ไวรัสอาร์เอสวี (RSV) มักจะมีอาการไอ น้ำมูกไหล คัดจมูก รับประทานอาหารได้น้อย หลังจากนั้น 1-3 วัน อาจมีอาการไอมากขึ้น ไข้ หายใจเสียงดังหรือหายใจลำบากได้หากอาการรุนแรงมากขึ้น
  • โรคมือเท้าปาก มีสาเหตุจากการติดเชื้อเอ็นเทอโรไวรัส (Enterovirus) ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย โดยมีอาการเด่นที่ผิวหนังคือ มีตุ่มนูน แดง หรือเป็นตุ่มน้ำใส พบมากบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในช่องปาก
  • โรคไข้เลือดออก มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue) ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เด็กมักมีอาการไข้สูงนำมาก่อนอาการอื่น มักไม่พบอาการไอน้ำมูก อาจพบหน้าแดงตัวแดงผิดปกติ

2183-1

7 โรคที่พบบ่อยในหน้าฝน

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า 7 โรคที่มักเกิดในช่วงหน้าฝนจะมาพร้อมกับสภาพอากาศและความชื้นที่เปลี่ยนไป ดังนี้

  • ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัส สายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่
  • ไข้หวัดธรรมดา อาจเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ
  • โรคต่อมทอนซิลอักเสบ ติดเชื้อทางระบบหายใจที่เกิดจากไวรัสหรือแบคทีเรีย
  • โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เป็นโรคที่มักเกิดจากการทานอาหารที่ปนเปื้อน
  • โรคเยื่อบุตาอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสทำให้ตาแดง มีน้ำตาไหล
  • โรคไข้เลือดออก มียุงลาย เป็นพาหะซึ่งแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วในฤดูนี้
  • โรคฉี่หนู ติดต่อทางบาดแผลและมีน้ำเป็นตัวพาหะ จึงไม่ควรเดินในน้ำขัง โดยเฉพาะในคนที่มีบาดแผล

วิธีป้องกันโรคในหน้าฝน

การป้องกันโรคที่มักเกิดในช่วงหน้าฝนสามารถทำได้ดังนี้

  • สวมหน้ากากอนามัย
  • ล้างมือ อย่างสม่ำเสมอครบถ้วนตาม 7 ขั้นตอน
  • ควรสวมเสื้อผ้าเพื่อรักษาร่างกายให้อบอุ่น
  • ออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัยเพื่อให้ร่างกายลูกมีภูมิต้านทานโรค
  • กำจัดน้ำขังในบ้าน ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย

ข้อมูลจาก

  • สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
[redirect url='https://s.shopee.co.th/9pM8pF4PPl' sec='3']
Picture of ChapChai Official

ChapChai Official

เว็บไซต์แนะนำสินค้าที่ดีที่สุดให้แก่คุณ

ดูท้ังหมด

แนะนำสำหรับคุณ