เปิดข้อมูลสัตว์หายาก ไลเกอร์-ไทกอน ฉายาเจ้าป่าเลือดผสมผู้มีชะตากรรมแสนเศร้า กำเนิดจากเงื้อมมือการผสมเทียม จนทำให้มีลักษณะพันธุกรรมบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอและมีอายุขัยสั้นกว่าปกติ ในบทความนี้ ทีมงาน Chapchai จะขอพาผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักต้นกำเนิด และความแตกต่างของสัตว์ผสมเทียมสองสายพันธุ์นี้ รวมไปถึงโทษทางกฎหมายหากมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ไลเกอร์-ไทกอน คือสัตว์อะไร ? มาทำความรู้จักกัน
ไลเกอร์ เจ้าป่าขนาดใหญ่ผิดธรรมชาติ
ต้นกำเนิดของไลเกอร์ (Liger) เกิดจากการผสมเทียมระหว่าง สิงโตตัวผู้และเสือโคร่งตัวเมีย โดยไลเกอร์จะมีลักษณะของลายเสือโคร่งจากแม่ ลายจุดตรงช่วงท้อง พร้อมแผงขนหนาจากพ่อ ลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง แถมยังมีเสียงที่คล้ายทั้งสิงโตและเสือ พร้อมนิสัยที่ชอบอยู่เป็นฝูงเหมือนสิงโต และว่ายน้ำเก่งแบบเสือ
ส่วนมากไลเกอร์มักจะมีการเติบโตจนขนาดใหญ่จนเกินไป อาจมีน้ำหนักเท่า ๆ กับเสือโคร่งและสิงโตรวมกัน ทำให้ไลเกอร์มักจะมีปัญหาสุขภาพตามมาและอายุสั้น
นอกจากนี้ยังมีการบันทึกสถิโลกถึง ไลเกอร์ ที่ตัวใหญ่ที่สุด ที่มีชื่อว่า เฮอคิวลีส ด้วยความยาวกว่า 3.6 เมตร และหนักถึง 408 กิโลกรัม ณ เมืองไมอามี่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา
ไทกอน เจ้าป่าตัวจ้อย ร่างกายอ่อนแอ
ต้นกำเนิดของไทกอนจะคล้ายกับไลเกอร์ เพียงแต่มีการสลับขั้วผสมเทียมกลายเป็น เสือโคร่งตัวผู้และสิงโตตัวเมียแทน ซึ่งโดยปกติ ไทกอนจะมีขนาดที่เล็กพอ ๆ กับเสือโคร่งและสิงโตทั่วไป พร้อมแผงคอเล็ก ๆ แบบกระเซิง ไม่ใช่แผงคอเต็มแบบสิงโต
และคาดการณ์ว่าอาจะด่วยปัญหาสุขภาพ ทำให้ไทกอนไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มวัย ทำให้เราสามารถพบไทกอนได้น้อยเมื่อเทียบกับไลเกอร์ และยังมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ จนทำให้อายุสั้น เช่นเดียวกับไลเกอร์อีกด้วย
เดิมที ไลเกอร์และไทกอนนั้น แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะพบได้ตามธรรมชาติ เพราะว่าทั้งคู่เป็นสัตว์ที่เกิดจากการผสมเทียมด้วยฝีมือมนุษย์ เดิมที สัตว์สองตัวนี้้มีพฤติกรรมที่ต่างกัน และยังอาศัยอยู่คงล่ะพื้นที่ตามภูมิประเทศ จึงโอกาสน้อยมากที่จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือไม่เกิดขึ้นเอง
สรุป Liger เกิดจากการผสมเทียมของ
สิงโตเพศผู้ + เสือโคร่งเพศเมีย = ไลเกอร์
ส่วน Tigon เกิดจากการผสมเทียมของ
เสือโคร่งเพศผู้ + สิงโตเพศเมีย = ไทกอน
ทั้งนี้ ไลเกอร์และไทกอนนั้นถือว่าเป็นสัตว์ผสมเทียมที่อยู่นอกเหนือกฏหมายคุ้มครองสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ทำให้กรมอุทยานอาจจะต้องพิจารณา การนำสัตว์ชนิดนี้เข้ากฎหมายคุ้มครองข้างต้น เนื่องจากล่าสุดมีกรณี ที่ไลเกอร์ หลุดออกมาจากกองถ่ายหนังฮอลีวูดที่ จ. ฉะเชิงเทรา ทำให้น่ากังวลว่าอาจจะเกิดอันตรายต่อประชาชนขึ้นในลำดับถัดไป
โทษของกฎหมายคุ้มครองสัตว์ทั้ง 3 ระดับ
1. ลักลอบค้าสัตว์ป่าสงวน มีความผิดต้องระวางโทษจำคุก 3-15 ปี ปรับไม่เกิน 1.5 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ลักลอบค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ลักลอบค้าสัตว์ป่าควบคุม มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี ปรับไม่เกิน 4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ