กรมอุตุฯ แจ้งอุณภูมิลดลง มีฝนปนหนาว – กทม. 5-14 พ.ย. 67

แจ้งอุณภูมิลดลง มีฝนปนหนาว

กรมอุตุนิยมวิทยา มีฝนปนหนาว พยากรณ์ล่วงหน้า 10 วัน ระหว่าง 5-14 พ.ย. 67 เผยการเข้าสู่ฤดูหนาวปีนี้ อาจจะมีฝนปะปนอยู่บ้างในช่วงแรก ยอดดอย ยอดภู จะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ส่วน กทม. และปริมณฑลจะเย็นลงเล็กน้อย

วันที่ 5 พ.ย. 67 กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 5-14 พ.ย. 67 init. 2024110412 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) (วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ) เฉดสีแดงหมายถึงฝนหนัก สีเขียวหมายถึงฝนเล็กน้อย : เข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 67 (ช้ากว่าปกติราว 2 สัปดาห์) ปีนี้มีความแปรปรวนของอากาศสูง ต้องระวังรักษาสุขภาพ ช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง

ช่วงวันที่ 5-14 พ.ย. 67 : คาดว่าจะมีมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนต่อเนื่อง ทำให้ลมหนาว (มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) พัดแรงขึ้น ส่วนลมในระดับกลาง ยังมีลมฝ่ายตะวันออก ลมตะวันออกเฉียงใต้

การเข้าสู่ฤดูหนาวปีนี้ อาจจะมีฝนปะปนอยู่บ้างในช่วงแรกๆ นี้ โดยทางภาคอีสานด้านตะวันออกและตอนบน (5 พ.ย. 67) พี่น้องเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันความเสียหายของผลผลิตทางเกษตรที่อาจจะเกิดขึ้นจากฝนที่ตก ความชื้นสูง

หลังจากนั้นอากาศจะเริ่มเย็นลงโดยช่วงเช้าอากาศเย็น ส่วนกลางวันอาจจะร้อนบ้าง เนื่องจากเมฆมีน้อย สำหรับยอดดอย ยอดภู จะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ให้ได้สัมผัสกันยาว ๆ ความหนาวเย็นจะแผ่ปกคลุมอยู่ถึงวันที่ 14 พ.ย. 67 ส่วน กทม. และปริมณฑลจะเย็นลงเล็กน้อย

การเข้าสู่ฤดูหนาวปีนี้ อาจจะมีฝนปะปนอยู่บ้างในช่วงแรกๆ นี้ โดยทางภาคอีสานด้านตะวันออกและตอนบน (5 พ.ย. 67) พี่น้องเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันความเสียหายของผลผลิตทางเกษตรที่อาจจะเกิดขึ้นจากฝนที่ตก ความชื้นสูง

หลังจากนั้นอากาศจะเริ่มเย็นลงโดยช่วงเช้าอากาศเย็น ส่วนกลางวันอาจจะร้อนบ้าง เนื่องจากเมฆมีน้อย สำหรับยอดดอย ยอดภู จะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ให้ได้สัมผัสกันยาว ๆ ความหนาวเย็นจะแผ่ปกคลุมอยู่ถึงวันที่ 14 พ.ย. 67 ส่วน กทม. และปริมณฑลจะเย็นลงเล็กน้อย

สำหรับภาคใต้ เมื่อลมหนาวมาเยือน (ลมเปลี่ยนทิศทาง) ตั้งแต่วันที่ 5-6 พ.ย. 67 ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (เพชรบุรี ประจวบฯ ชุมพร ลงไป) ต้องเตรียมรับมือฝนตกหนัก ฝนตกสะสม คลื่นลมแรงขึ้น อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามข้อมูลนำเข้าและประมวลผลใหม่ ใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจและติดตามสภาพอากาศ การวิเคราะห์ข้อมูลควรใช้ข้อมูลผลการตรวจวัดจริงมาวิเคราะห์ร่วมด้วย ไม่ควรวิเคราะห์เฉพาะจากแบบจำลองฯ).

ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

[redirect url='https://s.shopee.co.th/9pM8pF4PPl' sec='3']
Picture of ChapChai Official

ChapChai Official

เว็บไซต์แนะนำสินค้าที่ดีที่สุดให้แก่คุณ

ดูท้ังหมด

แนะนำสำหรับคุณ